วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรคหัวใจ

ภาพหัวใจของโรคหัวใจ

โรคหัวใจ คืออะไร..?

          องค์กรณ์อนามัยโลก  แจ้งว่า  โรคหัวใจคร่าชีวิตคนทั่วโลกถึงปีละ 12,000,000 คนต่อปี และจากสถิติยังแสดงว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตาย อันดับหนึ่งของประชากรที่เป็นผู้ใหญ่ หัวใจเป็นอวัยวะที่เป็นกล้ามเนื้อ ถ้าเปรียบเทียบกับเครื่องจักรที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไป มันก็คงทำงานเหมือนเครื่องปั้มน้ำ โดยมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย หัวใจคนเรามี 4 ห้อง มีห้องซ้าย-ขวาโดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และบน-ล่างโดยลิ้นหัวใจ มันมีหน้าที่ในการฟอกโลหิต ซีกขวาของหัวใจจะประกอบไปด้วย หลอดเลือดที่จะสูบฉีดเลือดไปยังปอด เพื่อฟอกเลือดเสียให้ได้รับออกซิเจน หลังจากที่เลือดได้รับการฟอกแล้ว มันจะส่งกลับมายังหัวใจซีกซ้าย เพื่อสูบฉีดไปยังอวัยวะต่างๆต่อไป
 6 อาการเสี่ยงโรคหัวใจ
          อาการผิดปกติเบื้องต้น ของหัวใจและร่างกาย ซึ่งอาจจะมีข้อบ่งชี้ว่ามีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
สามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้
  • มีอาการเหนื่อยเวลาออกกำลังกาย หรือต้องใช้แรงมากกว่าปกติ นั่นก็เป็นเพราะว่าหัวใจที่ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ทำงานหนักขึ้นกว่าปกติ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
  • เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าว จะรู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอกคล้ายๆมีของหนักทับอยู่ โดยมากอาการนี้จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก
  • มีอาการหอบจนตัวโยน หากไม่รีบพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการนี้อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
  • ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติหัวใจของเราจะเต้นสม่ำเสมอประมาณ 60-100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง 150-250 ครั้ง/นาที
  • เป็นลมหมดสติอยู่บ่อยๆ เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอเพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอจนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้
  • หัวใจหยุดเต้นกระทันหัน มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของโรคหัวใจมาก่อน
  • ขาหรือเท้าบวม โดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋ม ตามนิ้วที่กดลงไป
  • ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ แสดงให้เห็นว่าทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้าย มีการเชื่อมต่ออย่างผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมปนเปของเลือดแดงกับเลือดดำ

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของ "โรคหัวใจ"

        ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุ ของโรคหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดเมื่อหลอดเลือดอุดตัน มันก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือด เพื่อส่งสารอาหารไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้อย่างสมบูรณ์และเมื่อการเวลาผ่านไป การอุดตันของเส้นเลือดก็เริ่มมีมากขึ้น และนานวันเข้าหลอดเลือดต่างๆของหัวใจก็จะเริ่มหนาขึ้น และแข็งขึ้นจนเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ

การรักษาด้วยสมุนไพร
คุณหมอเส็งได้แนะนำผลิตภัณฑ์ ที่ควรทานคือ

แนะนำให้ทานผลิตภัณฑ์ติดต่อกัน 1 อาทิตย์ อาการของโรคหัวใจจะดีขึ้นมาก
ถ้าจะให้หายขาดควรรับประทานติดต่อกัน 3-4 เดือน
 
11/30/2559 / by / 0 Comments