วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรคประสาทหัวใจอ่อน

ภาพหญิงสาวมีอาการป่วยเป็นแพนิค

โรคแพนิค Panic Disorder (โรคประสาทหัวใจอ่อน)

      โรคแพนิค คือ ความกลัวหรือความตระหนกตกใจที่เกิดขึ้นอย่างทันทีเหมือนจู่โจม  เป็นลักษณะสำคัญของโรคทางจิตเวชโรคหนึ่ง คือ โรคแพนิค ซึ่งมีอาการทางกายที่รุนแรงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายใน 3-10 นาที เกิดขึ้นเป็นพักๆ อาจนานถึงครึ่งชั่วโมงโดยเกิดขึ้นร่วมกันความหวาดกลัว อาการต่างๆ ที่พบได้ มีดังนี้

1)  อาการที่เกิดขึ้นแบบจู่โจม (แพนิค) มักเกิดขึ้นโดยไม่เลือกเวลาและสถานที่ จึงยากที่จะทำนายได้ ทำให้บางรายเกิดความหวาดกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือกิจกรรมนั้นๆที่เคยมีแพนิคเกิดขึ้น

2)  อาการแพนิคสงบลง ผู้ป่วยมักตกอยู่ในสภาพหวาดหวั่น วิตกกังวลว่าจะเกิดอาการขึ้นมาอีก ไม่อาจรู้ว่าเมื่อไหร่และที่ใด ยิ่งมีความหวาดหวั่นและวิตกกังวลมากเท่าใด ก็ดูเหมือนว่าจะเกิดอาการจู่โจมมากขึ้นเท่านั้น ผู้ป่วยได้ตกอยู่ในวงเวียนของการเกิดอาการ ดังนี้
    • ใจเต้นเร็ว ลั่นเหมือนตีกลอง   
      เหงื่อแตก
    • เจ็บบริเวณหน้าอก                   
      : อ่อนเพลีย
    • หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม     
      : คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง
    • รู้สึกมึนงง โคลงเคลง เป็นลม   
      : ความรู้สึกเหมือนตกอยู่ในความฝัน มีการรับรู้บิดเบือนไป
    • รู้สึกชา หรือซ่าตามปลายเท้า 
      ความกลัวอย่างท่วมท้น ร่วมกับความรู้สึกสังหรณ์ว่ามีบางอย่างที่น่ากลัวกำลังเกิดขึ้นกับตัวเองและเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ กลัวว่าจะตาย
    • ตัวร้อนวูบวาบ หรือตัวสั่น         
      : ควบคุมตัวเองไม่ได้เหมือนจะเป็นบ้า หรือแสดงบางอย่างที่น่าอายออกไป


โรคแพนิค สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ระยะ จากเริ่มต้นไปรุนแรงสุดๆ ดังนี้

  • 1) ระยะเกิดอาการแพนิค
  • 2) ระยะกังวลเกี่ยวกับอาการแพนิค หลังจากเกิดอาการ กลัวจะเกิดซ้ำ ไม่รู้จะเกิดที่ไหน ตอนไหน
  • 3) กลัวจะเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ ซึ่งช่วงแรกแพทย์มักจะตรวจไม่พบ และบอกว่าไม่เป็นอะไร
        แต่ผู้เป็นโรคแพนิคมักจะไม่เชื่อ มักไปตรวจหลายที่ หลายๆครั้ง เพื่อยืนยันให้แน่ใจ
  • 4) เริ่มกลัวและหลีกเลี่ยงต่อสถานที่หรือสถานการณ์ซึ่งผู้ป่วยรู้สึกว่าอาจทำให้เกิดอาการแพนิค เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาด หรือการขับรถ
  • 5) มีอาการแพนิคมากขึ้นจนไม่กล้าไปไหนคนเดียว เพราะกลัวว่าเกิดอาการแล้วจะไม่มีใครช่วยทัน
  • 6) ระยะเกิดอารมณ์เศร้า อาจถึงขั้นโรคซึมเศร้า เป็นผลจากมีอาการแพนิคมานาน บางครั้งอาจถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย

5 อุปนิสัยนำไปสู่การป่วยเป็นโรคแพนิค

ภาพ 5 อุปนิสัยสู่การเป็นแพนิค
 คุณมีนิสัยดังต่อไปนี้หรือไม่..?
      นิสัยของคนเราเป็นตัวบอกให้ทราบในหลายๆอย่าง เช่น การทำงานของสมอง วิธีคิด ระบบประสาท สภาพสังคมและครอบครัวที่เราได้พบเจอ แม้แต่ลักษณะที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม จากสถิติได้รวบรวม 5 นิสัยหรือ พฤติกรรมที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดอาการแพนิค คือ
  1) เป็นคนที่มีนิสัยจริงจังกับชีวิตมาก
  2) เครียดและกังวลไปกับทุกเรื่อง
  3) ความคาดหวังกับอะไรซักอย่างมากจนเกินไป
  4) ย้ำคิดย้ำทำ
  5) ชอบคิดลบ
      ถ้าคุณมีนิสัยใน 5 ข้อนี้ แสดงว่าคุณมีความเสี่ยงเป็นโรคแพนิค หรือคุณกำลังเป็นอยู่ก็ได้ เพราะคุณอาจจะมีพันธุกรรม หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีหรือ ระบบสารสื่อประสาทของคุณกำลังทำงานผิดปกติ
      วิธีแก้ไขคือ ต้องหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายสมอง ผ่อนคลายจิตใจ มีสติให้มากที่สุด ไม่คิดลบ ไม่เครียด ปล่อยวางกับปัญหา อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด อย่าคาด หวังกับอนาคตมากเกินไป ไม่คิดถึงความผิดพลาดในอดีต ให้อยู่กับปัจจุบันเป็นสำคัญ คิดว่าถ้าเราทำวันนี้ให้ดี ให้เต็มที่ ให้มีความสุข อนาคตข้างหน้าก็ต้องดีแน่นอน ออกกำลังกาย สวดมนต์ นั่งสมาธิบ้าง

เทคนิคการหายใจเพื่อบรรเทาอาการแพนิค..

     คนที่เป็นโรคแพนิคคงรู้ดีอยู่แล้วว่าเวลามีอาการแพนิค (panic attack) มันทรมานแค่ไหน วันนี้ผมเลยมีเทคนิคดีๆเกี่ยวกับการหายใจมาฝากเพื่อนๆเวลามีอาการแพนิคครับ เผื่อเวลาที่เริ่มมีอาการแล้วคิดอะไรไม่ออกก็ลองนำมาใช้กันดูนะครับ
เทคนิคการหายใจเพื่อบรรเทาอาการแพนิค
  1. หายใจเข้าเป็นเวลา 4 วินาที (หรือนับ 1 ถึง 4 ก็ได้ครับ)
  2. กลั้นหายใจเป็นเวลา 7 วินาที
  3. หายใจออกเป็นเวลา 8 วินาที
  4. ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง
     เทคนิคนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้ได้ผลจริง เพราะการหายใจแบบนี้ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติของเรา (autonomic nervous system) เปลี่ยนสถานะการทำงานจากsympathetic ( เป็นระบบประสาทที่มักใช้ในผู้ที่ใช้พลังงานทันทีทันใด หรือในขณะตื่นเต้น สู้รบ หรือป่วยไข้ ทำให้ม่านตาขยาย หัวใจเต้นเร็ว หลอดลมขยายตัว ความดันเลิอดสูงขึ้น เหงื่อออกมาก อุณหภูมิร่างกายเพิ่มมากขึ้น ) ไปสู่ parasympathetic ( ระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ช่วยให้การเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารเพิ่มมากขึ้น ม่านตาหดลง หลอดลมหดตัว ความดันโลหิตต่ำลง เหงื่อออกน้อยลง อุณหภูมิร่างกายลดลง )


ถ้ามีโรคแพนิคจะดูแลตนเองอย่างไร?

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ คนไข้อาจไม่กล้าทำ เพราะคิดว่าจะยิ่งทำให้ใจสั่นเวลาเหนื่อย 
  • แต่ที่จริงแล้วการออกกำลังกลับทำให้ระบบหัวใจ   และปอดทำงานสมดุลขึ้น
  • พักผ่อนอย่างเพียงพอและมีสุขลักษณะการนอนที่ดี หากอดนอนโรคจะกำเริบง่าย
  • งดใช้คาเฟอีน (ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง) สุรา และสารเสพติด เพราะอาจมีฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดแพนิค
  • การผึกการผ่อนคลายด้วยวิธีเหล่านี้  ต้องฝึกอย่างสม่ำเสมอและใช้เวลาอย่างน้อยครั้งละ 15-20 นาที
  • การฝึกหายใจเข้าออกช้า ๆ  
  • การฝึกสมาธิ หรือเดินจงกรม
  • การฝึกจินตนาการเพื่อการผ่อนคลาย โดยอาจใช้ฟังเพลงช่วย
  • การผึกโยคะ ไทเก็ก หรือการออกกำลังที่ประสานร่างกายและจิตใจ
  • การได้ปรึกษาหรือระบายปัญหากับผู้ที่ตนไว้ใจหรือศรัทธา หรือใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต
  • การจัดการกับความเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่นศึกษาธรรมะ หรือทำงานอดิเรกที่ผ่อนคลาย
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา และแจ้งให้แพทย์ทราบเมื่อมีอาการเกิดขึ้นหลังจากใช้ยา
  • เวลาเป็นแพนิค อย่าเพิ่งตกใจ อย่าคิดต่อเนื่องไปว่าจะป่วยหนักหรือจะหัวใจวายตาย เพราะจะยิ่งทำให้เครียดและ ยิ่งเป็นมากขึ้น ให้นั่งพักและรออาการสงบไป ซึ่งจะหายไปเองเหมือนครั้งก่อนๆที่เคยเป็น หรือรับประทานยาที่แพทย์ให้ไว้ใช้เวลาที่เกิดอาการแล้วพักสักครู่รอยาออกฤทธิ์ ขอให้มั่นใจว่าไม่เคยมีใครตายจากโรคแพนิค มีแต่คนที่เป็นแล้วคิดมากจนไม่มีความสุข เลยไม่หายและยิ่งเป็นบ่อยๆ 
      
แนวทางการรักษานอกจากนี้ ผมขอแนะนำการแพทย์ทางเลือกกับสมุนไพรไทยของคุณหมอเส็งครับ



การดูแลด้วยสมุนไพร
คุณหมอเส็งได้แนะนำผลิตภัณฑ์สมุนไพร คือ

ผลิตภัณฑ์ 2 ชนิดนี้ จะช่วยแก้โรคหัวใจ
ที่อ่อนแรงทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น อาการที่เป็นอยู่ก็จะหายไป 

11/30/2559 / by / 0 Comments