วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรคหัวใจขาดเลือด

ภาพอาการหัวใขขาดเลือด

หัวใจขาดเลือดคืออะไร...?

เมื่อหัวใจไม่ได้รับโลหิตที่มีออกซิเจนมากพอ
ก็จะเกิดอาหารเจ็บปวดที่เรียกว่า "อาการหัวใจขาดเลือด (Angina)"
ซึ่งมีสาเหตุจากการกระตุกในหลอดเลือดหัวใจ

"อาการดังกล่าว" เป็นการเตือนว่าหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้น 
อาการที่แสดงถึงโรคหัวใจขาดเลือดของแต่ละคน เป็นอย่างไร...?

อาการหัวใจขาดเลือดจะแสดงแตกต่างกันไป เช่น...

    • เจ็บ ปวด หรือรู้สึกไม่สบาย
    • แน่นท้อง
    • เป็นตะคริว
    • ชา
    • หายใจลำบาก จุกเสียด
    • แน่นหน้าอก
    • ร้อน
    • เหงื่อแตก
    • วิงเวียนศรีษะ

าการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ที่ไหนบ้าง...?

1) อาการสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในบริเวณหน้าอก ไหล่ หลังส่วนบน แขน คอ ในลำคอ หรือกรามเป็นต้น

2) และอาจเกิดขึ้นในเวลาที่รู้สึกเครียด ขณะที่ใช้แรงมากในการทำกิจกรรม

3) อาจเกิดขึ้นหลังมื้ออาหารหนักๆ


ภาพปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดชนิดที่ปรับเปลี่ยนได้

  • ระดับไขมันโคเลสเตอรอลสูง แนวทางแก้ไขคือ จำกัดการบริโภคโคเลสเตอรอล ไขมันชนิดอิ่มตัวหรือไขมันเทียม (Trans (hydrogenated) Fat) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมโคเลสเตอรอลโดยรวม (TC) และไตรกลีเซอไรด์ (TG) ให้ต่ำกว่า 200 มก./ดล. ควบคุม LDL โคเลสเตอรอลให้ต่ำกว่า 100-130 มก./ดล. ส่วน HDL ให้มีมากๆ ไว้ คือสูงกว่า 35 มก./ดล.
  • ความดันโลหิตสูง สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NIH) กำหนดแรงดันโลหิตไว้ไม่ให้เกิน 130/85 มม.ปรอท (130 คือแรงดันบน หรือแรงดันซิสโตลิก ส่วน 85 คือ แรงดันล่างหรือไดแอสโตลิก)
  • การสูบบุหรี่ นิโคตินจากบุหรี่ทำให้เส้นเลือดตีบตัวลง ทำให้หัวใจต้องออกแรง สูบฉีดมากขึ้น คาร์บอนมอนนอกไซด์ที่อยู่ในควันบุหรี่ออกฤทธิ์ลดระดับ ออกซิเจนในเลือด พร้อมทั้งทำร้ายผนังเส้นเลือด
  • เบาหวาน ป้องกันโดยรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม จำกัดน้ำหนักส่วนเกิน จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไป รับประทานอาหารที่อุดมด้วยเส้นใยอาหาร และคาร์โบไฮเดรตชนิดซับซ้อน ลดอาหารไขมันชนิดอิ่มตัวและน้ำตาล ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไว้ให้ดี
  • ออกกำลังกาย แต่ละสัปดาห์ควรได้ออกกำลังกายในระดับหักโหมปานกลาง ไม่ต่ำกว่า 200 นาที โดยอาจทำรวดเดียวครั้งละ 30 นาที หรือแบ่งทำช่วงละ 10 นาที วันละ 3-4 ช่วงก็ได้
  • น้ำหนักตัวมากไป แก้โดยบำรุงรักษาน้ำหนักตัวไว้ให้เหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะน้ำหนักตัวที่เกินพอดีเพียง 10% ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด แล้วการลดน้ำหนักแค่ 2-4 กิโลกรัม จะช่วยลดแรงดันโลหิตได้
  • อาหารที่ไม่เหมาะสม แก้ไขได้ถ้าจำกัดอาหารกลุ่มไขมันไม่ให้เกินวันละ 20-30% ของปริมาณพลังงานจากอาหารทั้งหมดที่จะได้ในแต่ละวัน ในจำนวนนี้ไม่ควรได้ ไขมันชนิดอิ่มตัวเกิน 7% โดยหันไปใช้น้ำมันมะกอกหรือคาโนลาแทน เพิ่มการบริโภคใยอาหารให้ได้วันละ 25-30 กรัม โดยเพิ่มการรับประทานผลไม้ ถั่ว และธัญพืช
  • ความเครียด แก้ไขโดยออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มกาแฟหรือแอลกอฮอล์มากเกินไป ปฏิบัติการทำสมาธิด้วยวิธีต่างๆ

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดที่เปลี่ยนไม่ได้

  • อายุ ผู้ชายที่มีอายุเกิน 40 ปี หรือผู้หญิงที่แก่กว่า 55 ปี ต้องเริ่มทำใจแล้วล่ะว่า จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น
  • เพศชาย ผู้ชายเสี่ยงต่อการมีความดันโลหิตและไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง อยู่เป็นระยะยาวได้มากกว่าเพศหญิง แต่ผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว ก็เริ่มมีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้น เพราะไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนมาปกป้องเหมือนตอนที่ยังเป็นสาว
  • พันธุกรรม ความเสี่ยงของคนๆ หนึ่งจะเพิ่มขึ้นถ้ามีพ่อหรือพี่ชาย น้องชาย (อายุต่ำกว่า 55 ปี) หรือมีแม่หรือพี่สาวน้องสาว (อายุต่ำกว่า 60 ปี) ที่เคยเป็น โรคหัวใจขาดเลือดจนเกิด Heart Attack หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เจ็บหน้าอก หรือโรคหัวใจขาดเลือด
  • เผ่าพันธุ์ คนผิวดำจะมีความเสี่ยงสูงกว่าผิวขาว และมักจะมีอาการรุนแรงกว่า


อย่าละเลยโรคหัวใจขาดเลือด การพักผ่อน และการรักษาด้วยยาเป็นวิธีที่ช่วยลดอาการขาดเลือดอย่างได้ผล


การดูแลด้วยสมุนไพร 
คุณหมอเส็งได้แนะนำผลิตภัณฑ์ ที่ควรทานคือ


        เวลารับประทาน  ใช้ผลิตภัณฑ์ 3 อย่างนี้  ทานพร้อมกันวันละ 2 ครั้ง  ก่อนหรือหลังอาหาร  ก็ได้ ทานเพียง 1 อาทิตย์อาการเหล่านี้จะดีขึ้นมาก แต่ท่านควรทานติดต่อกันหลายๆเดือนเพื่อให้ได้ผลสูงสุด

11/30/2559 / by / 0 Comments