วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรคเก๊าท์

ภาพโรคเก๊า

โรคเก๊าท์ (GOUT)

โรคเก๊าท์ (GOUT) ดูแลไม่ดีมีสิทธิตายได้

       "เก๊าท์" เป็นอาการผิดปกติของร่างกายอันเนื่องมาจาการกินอื่มหมีพีมันมากเกินไป กินดีอยู่ดีเกินไป และไม่ค่อยออกกำลังกาย ส่วนใหญมักเกิดกับผู้ชายในวัยประมาณ 40 ปี แต่ถ้าเกิดในผู้หญิง มักจะพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว

สาเหตุของโรคเก๊าท์

       เก๊าท์ เกิดจากกระบวนการใช้ และขับถ่ายสารพวกพิวรีนของร่างกายผิดปกติไป พิวรีนเป็นธาตุอาหารที่พบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ (ตับ, เซี่้ยงจี้) เป็นต้น
       พิวรีนจะถูกย่อยกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี สำหรับบางรายที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้า จะทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในข้อกระดูกหรือรอบๆ ข้อกระดูก โรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์

         สาเหตุของโรคเก๊าท์ เกิดจากการที่มีกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปรกติซึ่งสาเหตุที่กรดยูริกสูงได้แก่


1) ภาวะที่มีการสร้างกรดยูริกสูง
        กรดยูริกในเลือดที่สูง ในมนุษย์จะเป็นผลมาจากการที่ขาดยีนในการสลายกรดยูริกแล้ว ยังพบว่ากรดยูริกในร่างกายมนุษย์จะได้มาจาก 2 แหล่ง คือ
  1. จากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกาย โดยการสลายโปรตีนและได้สารพิวรินออกมา ซึ่งกรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่จะเกิดจากกระบวนการนี้
  2. จากอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยรับประสานอาหารที่มีพิวรีนสูง
2) การขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง
กรดยูริกที่สร้างขึ้นจะมีการขับออกจากร่างกาย 2 ทางหลัก คือ
  1. ขับออกทางระบบทางเดินอาหาร และ ซึ่งการขับออกทางระบบทางเดินอาหารจะขับออกได้ประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายสร้างได้ในแต่ละวัน
  2. ขับออกทางไต ส่วนที่เหลืออีก 2 ใน 3 เป็นการขับออกทางไต
        จากการศึกษาในคนที่เป็นโรคเก๊าท์ จะพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 มีความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต กล่าวคือ ที่ความเข้มข้นของระดับกรดยูริกในเลือดที่เท่ากัน คนที่เป็นโรคเก๊าท์จะมีการขับกรดยูริกออกทางไตได้น้อยกว่าคนปกติที่ไม่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงถึงร้อยละ 40 แสดงว่า ความผิดปกติหลักในผู้ป่วยโรคเก๊าท์อยู่ที่ความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต 

อาการที่บ่งบอกถึงโรคเก๊าท์

       ภาพอาการของโรคเก๊าท์
        มีอาการปวด บวม แดง และร้อนตามข้ออย่างเฉียบพลัน อาจรุนแรงถึงกับเดินลงน้ำหนักหรือใช้งานข้อไม่ได้อาจเป็นๆ หายๆ ทิ้งระยะเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปีอาการปวดอาจเป็นข้อเดียวหรือหลายข้อพร้อมกันก็ได้ที่พบบ่อยได้แก่
  • ข้อโคนนิ้ว
  • หัวแม่เท้า
  • ข้อเข่า 
  • อาจมีอาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

การดูแลตนเอง เมื่อเป็นเก๊าท์

1)  เมื่อมีอาการปวดให้ใช้น้ำอุ่นจัด ๆ หรือใช้น้ำแข็งประคบตรงข้อที่ปวด ประมาณ 20 นาที และหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักตรงข้อนั้น ๆ

2)  งดการบีบนวดตรงตำแหน่งที่เจ็บ เพราะยิ่งนวดจะยิ่งปวดและหายช้า

3)  ผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือภาวะน้ำหนักตัวเกิน ควรลดน้ำหนักลงทีละน้อยอย่างถูกวิธี

4)  ควรดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 3 ลิตร เพื่อป้องกันนิ่วในไต

5)  อาหารที่ต้องงด 
  • พวกเครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ตับอ่อน หัวใจ ไส้ สมอง เซ่งจี๊ 
  • กะปิ
  • ปลาซาดีน, ปลาซาดีนกระป๋อง 
  • ไข่ปลา 
  • น้ำซุบสกัดจากเนื้อสัตว์, น้ำเคี่ยวเนื้อ (Meat extracts) 
  • น้ำเกรวี (Gravies) 
6)  อาหารที่ต้องลด (ต้องจำกัด)
  • เนื้อสัตว์ (เหลือวันละมื้อ) 
  • ปลาทุกชนิด และอาหารทะเลอื่น ๆ เช่น กุ้ง หอย ปู (เหลือวันละมื้อ) 
  • เบียร์ และเหล้าต่าง ๆ 
  • ถั่วบางอย่าง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา 
  • ผักบางอย่าง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง, แอสพารากัส, กระหล่ำดอก, ฝักขม, เห็ด 
  • ข้าวโอ๊ต 
  • ข้าวสาลีที่ไม่ได้สีเอารำออก (Whole-wheat cereal)

การดูแลด้วยสมุนไพร
คุณหมอเส็งได้แนะนำผลิตภัณฑ์ ที่ควรทานคือ

ทานแล้วจะมีอาการปวดมากขึ้นก่อน แล้วค่อยๆทุเลาลง และหาย

11/30/2559 / by / 0 Comments