โรคข้อเข่าเสื่อม
เมื่อเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการที่กระดูกอ่อนซึ่งทำหน้าที่ปกป้องและเป็น ตัวดูดซับแรงกระแทกในข้อเข่ามีการสึกหรอและเสื่อมสภาพลง หากกระดูกอ่อนนี้เสียหายเป็นพื้นที่กว้าง กระดูกในข้อเข่าจะเสียดสีกันเอง ทำให้เกิดการอักเสบ และมีอาการปวด
สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม
- พันธุกรรม และความผิดปกติแต่กำเนิดบางชนิด เช่น ขาหรือเข่าผิดรูป
- อายุและเพศ โดยเมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของกระดูกอ่อน ก็ลดลง นอกจากนี้ ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป จะมีแนวโน้มของการเกิดข้อเข่า เสื่อมได้มากกว่าผู้ชายที่อายุเท่ากัน
- น้ำหนักตัวมาก (BMI มากว่า 23 กก./ม.2)
- ประวัติการบาดเจ็บที่ข้อเข่า ซึ่งส่งผลให้มีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมได้สูงโดยอาจเป็นผลจาก
- การบาดเจ็บ โดยถึงแม้ร่างกายจะมีการซ่อมแซมตัวเองหลังการบาดเจ็บ โครงสร้างข่อเข่าก็อาจไม่แข็งแรงเหมือนเดิม
- ได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง
- การใช้ข้อเข่าหักโหมซ้ำๆ หรือท่าทางบางอย่างที่ต้องงอเข่ามากเกินไป เช่น การคุกเข่า หรือนั่งยองๆ ซึ่งทำให้เข่าต้องรับแรงกดมากกว่าปกติเป็นเวลานานหรือบ่อยครั้ง
- โรคไขข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เก๊าท์ ส่งผลให้กระดูกอ่อนถูกทำลายจนกระทั่งหมดไปทำให้เกิดอาการปวดและข้อติดแข็งตามมา
การรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัด
1) การปรับเปลี่ยนการใช้งานในชีวิตประจำวัน ได้แก่
- การพักหรือใช้งานข้อให้น้อยลง หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินเป็นระยะเวลานาน
- การพักหรือใช้งานข้อให้น้อยลง หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินเป็นระยะเวลานาน
- หลีกเลี่ยงการนั่งงอเข่า เช่น คุกเข่า พับเพียบ ยองๆ ขัดสมาธิ หรือนั่งเก้าอี้ต่ำ
- หลีกเลี่ยงการเดินขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นควรเดินช้าๆและขึ้นลงทีละขั้น
- หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งท่าเดียวนานๆ ควรเปลี่ยนท่าหรือขยับข้อเข่าอยู่เรื่อยๆ
- นั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือใช้เก้าอี้ที่มีรูตรงกลางวางไว้เหนือคอห่านแทนการนั่งยองๆ ควรทำราวจับบริเวณโถนั่งเพื่อใช้ช่วยพยุงตัวเวลาจะนั่งหรือยืน
2) ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง
3) การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน เช่น ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน จะช่วยลดแรงที่เกิดกับข้อได้
4) ที่นอนควรมีความสูงระดับเข่า ไม่ควรนอนบนพื้นเพราะจะปวดมากเวลาจะนอนหรือลุกขึ้น
5) การประคบอุ่นบริเวณข้อเข่า ช่วยลดอาการปวดและกล้ามเนื้อเกร็งได้
6) การสวมสนับเข่า ในกรณีที่ข้อเข่าเสียความมั่นคง จะช่วยกระชับข้อและลดอาการปวด
7) การทำกายภาพบำบัด ได้แก่ การฝึกความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อ การเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ และการเพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย
การดูแลด้วยสมุนไพร
คุณหมอเส็งได้แนะนำผลิตภัณฑ์สมุนไพร คือ
- สตาร์ไลฟ์ 111 ครั้งละ 30cc. เช้า และเย็น
- ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อย ครั้งละ 50cc. เช้า และเย็น
ไม่หายแต่เบาลงมาก เมื่อทานต่อเนื่อง