วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

Hypotonia โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

คำว่า ALS ย่อมาจาก Amyotrophic Lateral Selerosis โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

Amyotrophic Lateral Selerosis
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส คือ

        ไม่ใช่โรคของกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ ประสาทนำคำสั่ง แล้วส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากขาดเซลล์ประสาทนำคำสั่งมาควบคุม ซึ่งเซลล์เหล่านี้
        มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง โดยที่เซลล์ประสาท นำคำสั่งเหล่านี้ค่อย ๆ เกิด การเสื่อมและตายไปในที่สุด และเนื่องจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง จึงมีซื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "โรคของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง (motor neuron disease; MND) หรือ โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม" ในประเทศสหรัฐอเมริกา

"จะรู้จักโรคนี้ในชื่อของโรค ลู-เก-ริก (Lou Gehrig Disease)
ซึ่งตั้งชื่อโรคตามชื่อนักเบสบอลที่มีชื่อเสียงที่เปีนโรคนี้ในปี ค.ศ. 1930"

สาเหตุของ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส

        ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเหตุใดเซลล์ประสาทนำคำสั่งจึงเกิดการเสื่อม โดยสมมุติฐาน เชื่อว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส เกิดจากหลายเหตุ ปัจจัยก่อให้เกิดโรคร่วมกัน ได้แก่ การมีปัจจัยบางอย่างทางพันธุกรรมซึ่งยัง ไม่ทราบแน่ชัด ที่ทำให้เซลล์ประสาทนำคำสั่งมีโอกาสเสื่อมได้ง่ายกว่าบุคคลอื่น มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปีอนของสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง สารโลหะหนัก รังสีหรือการติดเชื้อไวรัสบางชนิด มาช่วยกระตุ้นส่งเสริมให้ เซลล์ประสาทนำคำสั่งเกิดการทำงานผิดปกติร่วมกับอายุที่สูงขึ้นตามกาลเวลา ทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ อันเนื่องมาจากแบตเตอรี่ที่คอยสร้างพลังงานให้กับเซลล์ที่เรียกว่าไมโตคอนเดรีย (mitochondria)มีความผิดปกติ แต่สมมุติฐานเหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่แน่ชัด

อาการและการดำเนินของโรคเอแอลเอส เป็นอย่างไร

เริ่มต้นผู้ป่วย จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของมือ แขน ขา หรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน เช่น
  • ยกแขนไม่ขึ้นเหนือศีรษะ
  • กำมือ ถือของไม่ได้
  • ข้อมือ หรือข้อเท้าตก
  • เดินแล้วหกล้มบ่อย
  • สะดุดบ่อย
  • ขึ้นบันไดลำบาก
  • ลุกนั่ง ลำบาก
อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะค่อย ๆ เป็นมากขึ้นจนลามไปทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของแขนหรือขาทั้งสองข้างตั้งแต่ต้น นอกจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้ว ยังพบว่ามีกล้ามเนื้อลีบร่วมกับกล้ามเนื้อเต้นด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยมือลีบหรือขาลีบ พูดไม่ชัด พูดเหมือนลิ้นแข็ง ลิ้นลีบ เวลากลืนน้ำ หรืออาหารแล้วจะสำลัก

การดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส

         ผู้ป่วยโรคนี้นอกจาก จะทานยาตามแพทย์สั่งแล้ว ยังต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ  ทำกิจกรรมและทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อส่วนที่อ่อนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อที่ไม่ได้ใช้งานนาน ๆ ฝ่อลีบลง ป้องกันแผลกดทับ และป้องกันการติดของข้อ โดยสามารถกลับไปดูแลที่บ้านได้ แต่ทางครอบครัวต้องมีความพร้อมในการให้อาหารทางสายยาง ดูแลเรื่องการขับถ่าย ฯลฯ
         สิ่งสำคัญก็คือ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีความเครียดง่าย เพราะรู้ดีว่าโรคนี้รักษาไม่ได้ ทำได้เพียงประคับประคองอาการ อีกทั้งยังได้รับความทุกข์ทรมานจากโรค ทำให้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แม้สมองจะยังรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น ครอบครัวจึงเป็นกำลังใจที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ผู้ป่วยยอมรับและเข้าใจกับโรคนี้ เพื่อใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้มีความสุขได้มากที่สุด 

การดูแลด้วยสมุนไพร
คุณหมอเส็งได้แนะนำผลิตภัณฑ์สมุนไพร คือ
11/30/2559 / by / 0 Comments