วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรคความดันโลหิตสูง



ความดันโลหิตสูง คือ
        ภาวะความดันในหลอดเลือดแดง สูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอท ขึ้นไป โดยวัดขณะนั่งพัก 5 - 10 นาที โดยไม่ได้สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์และวัดได้ค่าสูงตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป ในเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูงได้ดังนี้

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1. ความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน พบได้มากกว่าร้อยละ 90 ในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีปัจจัยเสี่ยงดังนี้
  • พันธุกรรม มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง
  • โรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง
  • บริโภคอาหารรสเค็มหรือเกลือโซเดียมมาก
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • มีความเครียดสูงและเรื้อรัง
  • ร่างกายมีความไวต่อการสะสมเกลือและโซเดียม
  • ดื่มแอลกอฮอล์และกาแฟมากเกินไป
2. ความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ เป็นความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

สาเหตุของความดันโลหิตสูง ที่พบได้บ่อยคือ

  • โรคไต ผู้ป่วยที่มีหลอดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบทั้งสองข้างมักจะมีความดันโลหิตสูง
  • เนื้องอกที่ต่อมหมวกไตพบได้สองชนิดคือชนิดที่สร้างฮอร์โมน hormone aldosterone ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับเกลือแร่โปแตสเซียมในเลือดต่ำ อีกชนิดหนึ่งได้แก่เนื้องอกที่สร้างฮอร์โมน catecholamines เรียกว่าโรค Pheochromocytoma ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับใจสั่น
  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ Coarctation of the aorta พบได้น้อยเกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบบางส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
  • ยาคุมกำเนิด
  • ยาโคเคน ยาบ้า
  • โรคของต่อมไร้ท่อ
  • นอนกรน
  • และหยุดหายใจเฉียบพลัน
  • จากการตั้งครรภ์เป็นพิษ
        ความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมินั้นหลังการรักษาต้นเหตุ ความดันโลหิตสูงจะกลับมาเป็นปกติ
        ในผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงเฉพาะค่าบน เนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ

ความดันโลหิตสูงมีอาการอย่างไร..?  อาการของโรคความดันโลหิตสูง คือ

1. ผู้ป่วยระยะแรก ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดง มีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการ คือ
  • ปวดมึนท้ายทอย
  • ตึงที่ต้นคอ
  • ปวดศรีษะ
2. ผู้ป่วยระยะที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการเหล่านี้ ได้แก่
  • อ่อนเพลีย
  • เหนื่อยง่าย
  • ใจสั่น
  • มือเท้าชา
  • ตามัว
  • อัมพาต
  • หรือเสียชีวิตเฉียบพลัน
        โรคความดันโลหิตสูงนี้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานานๆ ร่วมกับมีภาวะไขมันสูง สูบบุหรี่ โรคเบาหวานที่ไม่ควบคุม น้ำตาลในเลือดสูงจะเร่งทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อมโดยมีคราบไขมันพอกเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตีบ ทำให้เกิดอาการของภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญ

การวินิจฉัยความดันโลหิตสูง

        สิ่งที่สำคัญของการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง คือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นโรคหรือไม่ ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตเป็นอย่างไร นอกจากนั้นจะต้องตรวจหาสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ตรวจอวัยวะต่างๆว่าได้ผลกระทบจากโรคความดันโลหิต และตรวจว่ามีโรคแทรกซ้อนจากความดันหรือยัง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง

    1. หัวใจ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา หัวใจวายหรือมีหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง
     2. สมอง เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตกทำให้เป็นอัมพาต และถ้าเกิดในตำแหน่งสำคัญอาจเสียชีวิตรวดเร็ว ความดันที่สูงรุนแรงเฉียบพลันจะทำให้สมองบวม ปวดศรีษะ และซึมลงจนไม่รู้สึกตัว
     3. ไต จากมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอเกิดภาวะไข่ขาวรั่วออกทางปัสสาวะ ไตวายเรื้อรังหรือเฉียบพลัน ซึ่งจะทำให้ความดันยิ่งสูงมากขึ้น
     4. ตา หลอดเลือดแดงในตาแตกและมีเลือดออกทำให้ประสาทตาเสื่อมและอาจตามัวลง
     5. หลอดเลือดแดงใหญ่ เกิดการโป่งพองและหรือฉีกขาดของผนังหลอดเลือดจะมีอาการเจ็บหน้าอก ถ้ารุนแรงอาจเสียชีวิต

9 วิธีควบคุมความดัน ต้นตอของโรคร้าย

1) ควบคุมน้ำหนัก รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
2) กินอาหารที่มีประโยชน์ กินอาหารครบ 5 หมู่ และไม่รับประทานอาหารที่มีโคเรสเตอรอลมาก
3) ออกกำลังกาย ออกกำลังกาย 30 ถึง 60 นาที ต่อวัน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ถึง 4 ครั้ง
4) ไม่ดื่มหนัก การดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น
5) เลี่ยงกินเค็ม ลออาหารสำเร็จรูป ลดเติมเกลือ ซอส จะช่วย ลดความดันเลือดลง
6) ลดคาเฟอีน คาเฟอีน ทำให้ความดันสูงขึ้น
7) ไม่สูบบุหรี่ สูบบุหรี่ 1 ครั้งทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น 10 มม.ปรอท
8) ลดความเครียด
9) ตรวจร่างกายและเช็คความดันอยู่เสมอ

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

     การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็น การรักษาที่ไม่ใช้ยาได้แก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาด้วยยา นอกจากนั้นจะต้องรักษาโรคแทรกซ้อน และการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิด
การรักษาโดยไม่ใช้ยา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • การรับประทานอาหารสุขภาพ : อาหารการเลือกรับประทานอาหารเพื่อลดความดันโลหิตเรียก DASH Diet ซึ่งจะลดเค็มลดไขมันอิ่มตัว เพิ่มธัญพืช ซึ่งสามารถลดความดันโลหิตทั้งตัวบนและตัวล่าง แต่การเลือกรับประทานอาหารสุขภาพทั่วๆไปจะทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น
  • ลดเค็ม : เกลือร่างกายเราขับเกลือออกทางปัสสาวะและเหงื่อ ผู้ที่รับประทานอาหารเค็มทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เกิดโรคไต การลดเล็มจะช่วยลดความดันโลหิต
  • รักษาน้ำหนักให้ปรกติ : ผลไม้คนที่อ้วนจะมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 คนอ้วนลงพุงจะมีรอบเอวมากกว่า 90 และ80 ซมในชายและหญิง คนอ้วน จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การลดน้ำหนักจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าว
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ : ออกกำลังการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายใช้พลังงาน ลดความดื้อต่ออินซูลิน หัวใจแข็งแรง การออกกำลังกายจะลดการเกิดโรคเบาหวาน ลดการเกิดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เรียนรู้วิธีออกกำลังที่ถูกต้อง
  • ลดการดื่มสุรา : สุราการดื่มสุรามากไปจะเกิดโรคตับ และความดัน และจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การดื่มสุราแต่พอควรจะลดอัตราการเสียชีวิต
  • หยุดการสูบบุหรี่ : บุหรี่โรคความดันจะทำให้หลอดเลือดตีบ บุหรี่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบมากขึ้น การลดบุหรี่จะลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง

การรักษาด้วยยาสมุนไพร
คุณหมอเส็งได้แนะนำผลิตภัณฑ์สมุนไพร คือ
    • สตาร์ไลฟ์ 111 ครั้งละ 30 cc. (เช้า-เย็น)
    • ยาหอมน้ำแก้ลม ครั้งละ 50 cc. (เช้า-เย็น)
    • ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อย ครั้งละ 50 cc. (เช้า-เย็น)
*ให้ทานคู่กับยาที่โรงพยาบาลจ่ายให้ อาการจะค่อยๆดีขึ้น จนหมอลดยาให้เอง*
11/28/2559 / by / 0 Comments