วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรคกรดไหลย้อน

ภาพคนเป็นโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน (Gerd)

โรคกรดไหลย้อน คืออะไร..?

        โรคกรดไหลย้อนหมายถึง ภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร ไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ


อาการที่สำคัญ ได้แก่ 

  • อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก
  • มีน้ำรสเปรี้ยว หรือรสขม ไหลย้อนขึ้นมาทางปาก

สาเหตุของกรดไหลย้อน

 1) Hiatus hernia (คือโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้นเข้าไปในกำบังลม)
 2) ดื่มสุรา
 3) อ้วน
 4) ตั้งครรภ์
 5) สูบบุหรี่
 6) อาหารรสเปรี้ยว เผ็ด อาหารหมักดอง อาหารมัน อาหารย่อยยาก
 7) ทานอาหารมากจนอิ่มเกินไป
 8) ช้อกโกแลต กาแฟ น้ำอัดลม
 9) คนเครียด
10) อาหารมัน ของทอด
11) หอมกระเทียม
12) มะเขือเทศ
13) เข้านอน หลังจากทานอาหารไม่ถึง 3 ชั่วโมง



กรดไหลย้อนนี้ถ้าเป็นเรื้อรังอาจทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลอดอาหาร ได้แก่

  • หลอดอาหารอักเสบ
  • มีเลือดออกจากหลอดอาหาร
  • และอาจทำให้ปลายหลอดอาหารตีบได้
        นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหาร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง อาจกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ในที่สุด



อาการของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ขึ้นอยู่กับอวัยวะ ที่ถูกระคายเคืองโดยกรด เช่น...

1)  อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร
  • กลืนลำบาก ติดๆขัดๆ คล้ายมีก้อนอยู่ในคอ หรือกลืนแล้วรู้สึกเจ็บ
  • เจ็บคอ มีเสมหะอยู่ในลำคอโดยเฉพาะตอนเช้า หรือระคายคอตลอดเวลา
  • อาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ บางครั้งอาจร้าวไปที่บริเวณคอได้
  • เรอบ่อย คลื่นไส้ คล้ายมีอาหารหรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในอก หรือคอรู้สึกขมเหมือนมีรสของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก
2)  อาการนอกระบบหลอดอาหาร
  • มีกลิ่นปาก เสียวฟัน หรือมีฟันผุได้ เป็นหวัดเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า
  • หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม ไอเรื้อรัง รู้สึกสำลักน้ำลาย
  • หรือหายใจไม่ออกในเวลากลางคืน จนอาจทำให้ต้องตื่นกลางดึก
  • อาการหอบหืดที่เคยเป็นอยู่(ถ้ามี) อาการแย่ลงหรือไม่ดีขึ้นจาการใช้ยา
  • เจ็บหน้าอก ปอดอักเสบ เป็นๆหายๆ

การรักษากรดไหลย้อน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  • ลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูงทำให้กรดไหลย้อนได้มาก
  • งดบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดกรดมาก และหูรูดอ่อนแรง
  • ใส่เสื้อหลวมๆ
  • ไม่ควรจะนอนหลังออกกำลังกาย หรือยกของหนักหลังออกกำลังกาย
  • งดอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง
  • งดอาหารมันๆ อาหารทอด อาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ช้อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่ เผ็ด เปรี้ยว เค็มจัด
  • รับประทานอาหารพออิ่ม
  • หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ น้ำอัดลม เบียร์ สุรา
  • นอนหัวให้สูงประมาณ 6-10 นิ้ว โดยหนุนที่ขาเตียง ไม่ควรใช้หมอนหนุนที่ศีรษะเพราะทำให้ความดันในช่องท้องสูง
  • รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ
  • ควรจะเข้านอนหรือเอนกายหลังจากรับประทานอาหารไปแล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
  • ผ่อนคลายความเครียด


การดูแลด้วยสมุนไพร
คุณหมอเส็งได้แนะนำผลิตภัณฑ์สมุนไพร คือ

ให้ทานติดต่อกันทุกวัน 3 ถึง 4 เดือน ก็จะหายขาด 
11/30/2559 / by / 0 Comments