วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรคกระเพาะอาหาร


โรคแผลในกระเพาะอาหาร
ภาพโครงสร้างกระเพาะอาหาร

     โรคกระเพาะอาหาร คือ ภาวะที่มีแผลเยื้อบุกระเพาะ หรือลำไส้ถูกทำลาย ถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะและลำไส้
  • ถ้าเป็นเฉพาะกระเพาะเรียก gastritis
  • ถ้าเป็นแผลถึงชั้นลึก(muscularis mucosa) เรียก ulcer
  • ถ้าแผลอยู่ที่กระเพาะเรียก gastritis ulcer
  • ถ้าแผลอยู่ที่ลำไส้เล็กเรียก duodenal ulcer
  • โรคกระเพาะพบได้ในทุกเพศทุกวัย

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

     สาเหตุของโรคกระเพาะเกิดจากการหลั่งกรดในกระเพาะมากเกินปกติ เกิดขึ้นจากการกระตุ้น เช่น
  • 1. การกระตุ้นของ ปลายประสาทจากความเครียด วิตกกังวล และอารมณ์ การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
  • 2. ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่มี Caffeine จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก
  • 3. การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก
  • 4. ภาวะที่มีกรดหลั่งออกมามาก เช่น โรค Zollinger-Ellisson syndrome

การทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดจาก..?

  • 1. การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสารสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆ สารที่ระคายกระเพาะ เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID แม้ว่าจะให้ยาโดยการฉีดหรืออมใต้ลิ้นก็มีโอกาสเกิดแผลที่กระเพาะ นอกจากนี้จะไปกระตุ้นให้เกิด cyclooxigenase II (Cox II) ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะ
  • 2. การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำส้มสายชู
  • 3. การดื่มแอลกอฮอล์
  • 4. การกินอาหารไม่เป็นเวลา

อาการของโรคกระเพาะอาหาร

       ส่วนใหญ่มีอาการปวดท้องบริเวณยอดอก หรือใต้ลิ้นปี่(เหนือสะดือ) บางรายมีอาการจุกเสียดแน่นท้อง เจ็บแสบหรือร้อน อาการจะสัมพันธ์กับการกิน หรือชนิดของอาหาร เช่น อาจปวดมากตอนหิว หลังอาหารอาการจะทุเลา แต่ผู้ป่วยบางคนอาการปวดเป็นมากขึ้นหลังอาหาร โดยเฉพาะเมื่อทานอาหาร รสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น บางรายอาจมีอาการปวดท้องตอนกลางคืน

 

ปวดแบบไหนที่รอไม่ได้ ต้องรีบรักษา !

  • ปวดท้องโดยมีอาเจียนร่วมด้วย
  • ปวดท้องเปลี่ยนรูปแบบ เช่น จากที่เคยปวดแสบกลายเป็นปวดบีบ ปวดเกร็ง ปวดรุนแรงขึ้น 
  • มีภาวะโลหิตจาง อาจเกิดจากการเสียเลือดในกระเพาะอาหาร 
  • ตาเหลือง 
  • มีไข้เรื้อรัง 37.5 - 38 องศาตลอดเวลา 
  • น้ำหนักลดเกินร้อยละ 10 ภายใน 1 - 2 เดือน 
  • รับประทานยาลดกรดด้วยตัวเองแล้ว1 - 2 สัปดาห์แต่ไม่ดีขึ้น ยังปวดท้องอยู่หรือมีอาการ

การดูแลด้วยสมุนไพร
คุณหมอเส็งได้แนะนำผลิตภัณฑ์ ที่ควรทานคือ

ทานติดต่อกัน 1 สัปดาห์ อาการที่เป็นอยู่จะเบา ให้ทานต่อเนื่องจนกว่าจะหายขาด
11/30/2559 / by / 0 Comments