วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ตกขาว คืออะไร? อันตรายหรือไม่?

ภาพคนเป็นตกขาว ตกขาวคืออะไร เป็นอันตรายหรือไม่

ตกขาว

ตกขาวคืออะไร..?

        ตกขาวหมายถึง สิ่งที่ถูกขับออกมาทางช่องคลอด และสิ่งนั้นไม่ใช่เลือดดังนั้น ตกขาวจึงมีสีอะไรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะสีขาว ตกขาวนี่เองที่เป็นอาการที่ผู้ป่วยมาหาหมอถึงหนึ่งในสามของผู้ป่วยที่มาตรวจภายใน ตกขาวเป็นคำเรียกที่รู้จักกันโดยทั่วไปแต่บางคนก็เรียก ระดูขาว หรือเรียก คัน มีกลิ่น หรือเจ็บปวด


ในตกขาว มีสารอะไรบ้าง...?

        สารที่ถูกขับออกจากช่องคลอด ซึ่งมีทั้งสิ่งที่ถูกขับออกจากต่อมต่างๆ ในระบบสืบพันธุ์ ซึ่งได้แก่
  • น้ำที่หลั่งจากต่อมใต้ผิวหนัง บริเวณช่องคลอด จากต่อมสกีน (Skene's gland)
  • น้ำที่หลั่งจากต่อมบาร์โธลิน เพื่อหล่อลื่นปากช่องคลอด
  • เซลล์เยื่อบุผนังช่องคลอดที่หลุดลอกออกมา
  • มูกจากต่อมที่ปากมดลูก
  • โปรตีน, เกลือแร่ ที่มาจากผนังช่องคลอด เยื่อบุโพรงมดลูก และหลอดมดลูก
  • กรดแลคติกซึ่งแบคทีเรียในช่องคลอดสร้างจาก ไกลโคเจนของเยื่อบุผนังช่องคลอด

ชนิดของตกขาว

        ตกขาวกับผู้หญิงเป็นของคู่กัน เป็นผู้หญิงก็ต้องมีตกขาว การมีตกขาวไม่ได้หมายถึง การเป็นโรค เป็นมะเร็ง หรือผิดปกติ แต่หมายถึงว่าการมีตกขาวอาจเป็นปกติ หรือไม่ปกติก็ได้


ตกขาวปกติ

        เป็นตกขาวที่พบได้ในภาวะปกติ ตกขาวแบบนี้มีสีขาว คล้ายแป้งเปียกมีปริมาณไม่มาก ไม่คัน กลิ่นออกเปรี้ยวเล็กน้อย ไม่เหม็น อย่างไรก็ตามในบางช่วงอาจมีปริมาณมากขึ้นเล็กน้อย เช่น ช่วงก่อนมีรอบเดือน หลังมีรอบเดือน ช่วงไข่ตก หรือในภาวะตั้งครรภ์


ตกขาวที่ไม่ปกติ

         กล่าวคือ มีปริมาณมาก บางครั้งไหลโจ๊กยังกับมีรอบเดือนยังไงยังงั้น มีกลิ่นเหม็น ลักษณะอาจเป็นหนอง มูกปนหนอง ปนเลือด มีฟอง และมักมีอาการอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น คัน แสบ ออกร้อนบริเวณปากช่องคลอด หรือมีปวดท้องน้อยร่วมด้วยก็ได้ ต้นเหตุที่ทำให้ตกขาวปกติ ที่พบบ่อย 3 อันดับแรก คือ
  • เชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis) พบได้ร้อยละ 30-35
  • เชื้อรา, ยีสต์ (Vulvovaginal candidiasis) พบได้ร้อยละ 20-25
  • เชื้อพยาธิ (Trichomoniasis) พบได้ร้อยละ 10
        ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่พบเชื้อสองชนิดหรือมากกว่าสองชนิดอยู่ร้อยละ 15-20 เรียกว่า ได้หนึ่งแถมหนึ่งว่างั้นเถอะ เชื้อ 3 ตัวนี้ พบร้อยละ 90 ของผู้ป่วยตกขาวผิดปกติ


ลักษณะของตกขาวที่อาจพบได้ คือ

  • ปนเลือดหรือมีสีน้ำตาล  ประจำเดือนมาผิดปกติไม่ตรงรอบ หรือที่พบได้ไม่บ่อยคือเกิดจากมะเร็งโพรงมดลูกหรือมะเร็งปากมดลูก อาจมีอาการปวดท้องน้อยหรือมีเลือดออกผิดปกติร่วมด้วย
  • ขุ่นมีสีเหลือง  อาจมีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น Gonorrhea เลือดออกระหว่างรอบเดือน หรือมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • สีเหลือง เขียว มีฟองปน  อาจเกิดจากการติดเชื้อปรสิต Trichomoniasis มักมีอาการปวดและคันเวลาปัสสาวะร่วมด้วย
  • สีชมพู  พบได้ในหญิงหลังคลอด เนื่องจากการลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก
  • สีขาว หนาเป็นก้อน  เกิดจากการติดเชื้อราจนมีอาการบวม แดง คันบริเวณอวัยวะเพศ เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
  •  สีขาว เทา หรือเหลือง  กลิ่นคาวเหมือนปลา เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จะมีอาการคัน แสบ แดง และบวมบริเวณอวัยวะเพศ

สาเหตุของการมีตกขาวผิดปกติ แบ่งตามตำแหน่งที่เกิดคือ

1. ช่องคลอดอักเสบ ที่พบบ่อยได้แก่
  • แบคทีเรีย
  • เชื้อพยาธิ
  • เชื้อรา
  • เชื้อไวรัส
  • เชื้อแบคทีเรียอื่นๆ
2. ปากมดลูกอักเสบ
  • การติดเชื้อหนองใน
  • การติดเชื้อคลามิเดีย
  • การติดเชื้อเริม
3. ปากมดลูกมีแผล, เป็นเนื้องอก
4. สิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด เช่น
  • เศษกระดาษทิชชู
  • สำลี
  • ผ้าก๊อซ
  • เมล็ดผลไม้
  • ถุงยางอนามัย
5. เนื้องอกและมะเร็งมดลูก, มะเร็งปากมดลูก กรณีนี้ตกขาวจะมีกลิ่นเหม็นมาก
6. สตรีวัยหมดระดู ขาดฮอร์โมน ก็ทำให้เกิดช่องคลอดแห้งอักเสบมีตกขาวได้


ความสัมพันธ์ระหว่าง "วัย" กับ "ตกขาว"

        วัยเด็ก มักเกิดจากความสกปรก สุขอนามัยไม่ดี ทำความสะอาดไม่เป็นหรืออาจมีสิ่งแปลกปลอมที่เด็กยัดเข้าไป เช่น ยางลบ เม็ดผลไม้ กระดาษทิชชู
        วัยเจริญพันธุ์ ทักเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
        วัยหมดระดู    เกิดจากการขาดฮอร์โมน


การป้องกัน ตกขาว

  • รักษาความสะอาดของช่องคลอดด้วยน้ำเปล่า น้ำอุ่น หรือสบู่อ่อน ๆ ไม่ควรใช้สบู่ที่มีฟองเยอะ รวมถึงน้ำยาและสเปรย์ที่มีฤทธิ์ทำความสะอาดแรง ๆ          
  • ซับช่องคลอดให้แห้งหลังเข้าห้องน้ำ ซับจากด้านหน้าไปยังด้านหลังเพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในช่องคลอด
  • ใส่กางเกงชั้นในผ้าฝ้าย ซึ่งช่วยระบายความชื้นได้ดี และไม่ใส่กางเกงที่รัดแน่นเกินไป
  • ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากฝ่ายชาย
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ      
  • รับประทานโยเกิร์ตที่มี Lactobacillus Acidophilus ในช่วงที่รับประทานยาแก้อักเสบ เพื่อป้องกันการติดเชื้อรา


        เมื่อใดที่สังเกตเห็น ความผิดปกติของตกขาวแล้วก็ควรรีบให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและเป็นผู้จ่ายยา จะปลอดภัยกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะตกขาวจากพยาธิที่สร้างความทรมานแก่ผู้ป่วยและยังสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย แต่ในกรณีที่มีภาวะตกขาวจากเชื้อรา (Candida albicans) และภาวะตกขาวจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial veginosis) ถ้าท่านรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะแล้วผลการรักษาไม่เป็นที่น่าพอใจ หรือว่ากลับมาเป็นอีก การใช้แพทย์ทางเลือกอย่างเช่น สมุนไพร ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจอีกทางหนึ่ง เพราะว่าสาเหตุของตกขาวจากเชื้อรา และตกขาวจากเชื้อแบคทีเรียนั้น มักเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนและความไม่สมดุลของค่ากรด-ด่าง ภายในช่องคลอด ซึ่งสมุนไพรอย่างเช่น เอ็กซ์1 หรือ เอ็กซ์2 ของหมอเส็งสามารถช่วยในส่วนนี้ได้อย่างดี

การดูแลด้วยสมุนไพร
คุณหมอเส็งได้แนะนำผลิตภัณฑ์สมุนไพร คือ


11/30/2559 / by / 0 Comments