วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรคถุงลมโป่งพอง

ภาพแสดงโครงสร้างปอดและอาการถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)

โรคถุงลมโป่งพอง พบในกลุ่มโรค NCDs โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) ถือเป็นส่วนหนึ่งของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประกอบไปด้วยโรคหลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพอง โดยปกติแล้วจะพบลักษณะของ 2 โรคนี้ร่วมกัน แต่หากตรวจพบว่าปอดมีพยาธิสภาพของถุงลมที่โป่งพองออกเป็นลักษณะเด่น ก็จะเรียกว่า “โรคถุงลมโป่งพอง”  

สาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง

  • ถุงลมโป่งพอง ร้อยละ 90 เกิดมาจากการสูบบุหรี่!! การสูบบุหรีจึงเป็นปัจจัยที่ชัดเจนว่าทำให้เกิดถุงลมโป่งพอง อย่างไรก็ตามพบว่าอีก 10% ของคนที่เป็นถุงลมโป่งพองไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อน นอกจากนี้ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่เอง แต่ได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่นติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ก็มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
  • มลภาวะของอากาศ พบว่าประชากรที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ๆ มีอัตราการป่วยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งก็รวมถึงโรคถุงลมโป่งพองมากกว่าประชากรในชนบท มลภาวะอากาศจึงน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนี้การทำงานบางประเภทที่มีการหายใจเอาละอองสารเคมีบาง อย่างเป็นปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น การทำงานในเหมืองถ่านหิน งานอุตสา หกรรมสิ่งทอจากฝ้าย งานอุตสาหกรรมพลาสติก และงานเชื่อมโลหะ ก็พบว่าเป็นสาเหตุด้วยเช่นกัน
  • เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ขาดเอนไซม์ (Enzyme) ชื่อ Alpha-one antitrypsin (เอนไซม์ป้องกันการถูกทำลายของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันจากสารต่างๆ) ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ โดยความผิดปกติของสารพันธุกรรมพบได้หลายแบบแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ความผิดปกติบางชนิดทำให้เกิดขาดเอนไซม์เพียงเล็กน้อยและไม่ได้ทำให้เกิดโรค ความผิด ปกติบางชนิด ทำให้เกิดขาดเอนไซม์ได้มากและส่งผลให้เป็นโรคถุงลมโป่งพองในขณะที่อายุไม่มาก แต่หากขาดเอนไซม์รุนแรงมาก ผู้ป่วยจะมีตับอักเสบรุนแรงตั้งแต่แรกคลอด และอาจเสียชีวิตก่อนที่ปอดจะเป็นโรคถุงลมโป่งพอง โรคพันธุกรรมชนิดนี้ส่วนใหญ่จะพบในคนเชื้อชาติผิวขาว

อาการของโรคถุงลมโป่งพอง

  • ไอเรื้อรัง มีเสมหะ
  • หายใจมีเสียงดัง Wheezing
  • หายใจไม่ทัน หอบเหนื่อย เป็นมากขึ้นเมื่อออกแรง ได้พักก็จะดีขึ้น
  • แม้ทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ กินข้าว ก็ทำให้มีอาการเหนื่อยได้แล้ว
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • เมื่อป่วยมากแม้อยู่เฉยๆ ก็มีอาการเหนื่อยได้
       ธรรมชาติของโรคถุงลมโป่งพอง จะค่อยๆแย่ลงไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆ และจะเสียชีวิตจากภาวะหายใจล้มเหลวในที่สุด การหยุดสาเหตุที่หยุดได้ โดยเฉพาะการหยุดสูบบุหรี่ จะทำให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆได้นานขึ้นและมากขึ้น โดยมีอาการเหนื่อยน้อยลง การลุกลามของโรคช้าลง แต่ไม่สามารถทำให้ปอดที่มีพยาธิสภาพเกิดขึ้นแล้วหายเป็นปกติได้



การดูแลด้วยสมุนไพร
คุณหมอเส็งได้แนะนำผลิตภัณฑ์สมุนไพร คือ
11/30/2559 / by / 0 Comments